SEO Specialist คืออะไร ? สำคัญต่อการทำ Marketing อย่างไรSEOSEO Specialist คืออะไร ? สำคัญต่อการทำ Marketing อย่างไร

SEO Specialist คืออะไร ? สำคัญต่อการทำ Marketing อย่างไร

seo specialist

สำหรับใครที่อยากจะเริ่มทำ SEO เคยสงสัยไหมคะ? ว่านอกจากการเขียนคอนเทนต์ หรือบทความแล้ว การทำให้หน้าเว็บไซต์ติดอันดับแรกบน Search Engine อย่าง Google ยังมีขั้นตอนอะไรอีกบ้าง

โดยปกติแล้วในแต่ละวันจะมีผู้ใช้งานเข้ามาค้นหาสิ่งที่ต้องการผ่าน Google กว่า 8.5 พันล้านครั้ง ซึ่งการติดอันดับ Search Engine ได้กลายมาเป็นที่ต้องการของนักธุรกิจ ทำให้ตำแหน่ง SEO Specialist ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญมากขึ้น

ทำความรู้จัก หน้าที่ของ SEO Specialist ในการทำ SEO

seo specialist

SEO Specialist คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Search Engine Optimization ซึ่งมีหน้าที่ในการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ เพื่อให้ติดหน้าแรกของการค้นหาของ Google SERP (Google Search Engine Result Page) ถือเป็น Search Engine ที่มีผู้ใช้มากที่สุด นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญ SEO ยังมีบทบาท และหน้าที่อื่น ๆ ดังนี้

  • การค้นหาคีย์เวิร์ด (Keyword Research)

Keyword Research คือ การสืบค้นกลุ่มคำที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ค้นหาข้อมูลบน Search Engine ของ Google และนำคีย์เวิร์ดนั้นมาวิเคราะห์ และเปรียบเทียบเพื่อให้ได้คีย์เวิร์ดคุณภาพ และดันประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้ขึ้นหน้า Google SERP

สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการเลือกคีย์เวิร์ด คือ จำนวนการค้นหา (Volume) หรือคีย์เวิร์ดนี้มีความยากง่ายในการแข่งขันมากเท่าไหร่ (KD) โดยต้องหาคีย์เวิร์ดผ่านเครื่องมือในการค้นหา (Keyword Research Tools) โดยคีย์เวิร์ดมีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

  1. Seed/Generic Keyword: การใช้คำที่ไม่เฉพาะเจาะจง โดยใช้คีย์เวิร์ดเพียง 1 คำ มักเป็นคำที่มีการแข่งขันสูง เช่น หากคุณขายโคมไฟแขวนผนัง Seed Keyword ก็คือโคมไฟ
  2. Niche Keyword: คำที่บ่งบอกถึงหมวดหมู่ของสิ่งที่ต้องการกล่าวในบทความ มักใช้จำนวนคีย์เวิร์ด 2-3 คำ เช่น ถ้าต้องการขายโคมไฟแขวนผนัง Niche Keyword ก็คือ โคมไฟเหล็ก
  3. Niche Longtail Keyword: คือการใช้คำหรือกลุ่มคำที่เฉพาะเจาะจง เป็นคีย์เวิร์ดที่มีมากกว่า 3 คำขึ้นไป เช่น คุณเป็นเจ้าของธุรกิจขายโคมไฟ อาจระบุไปเลยว่า โคมไฟ เหล็ก โมเดิร์น สีดำ PH
  • การวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)

การวางโครงสร้างเว็บไซต์ คือ การออกแบบ และปรับปรุงโครงสร้างของเว็บไซต์ ให้มีความเหมาะสมกับอัลกอริทึมของ Google รวมถึงผู้ใช้งานทั่วไป โดยทั่วไปโครงสร้างเว็บไซต์ ต้องไม่มีความซับซ้อน และมีความชัดเจน โดยแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

  1. Linear Structure: เป็นโครงสร้างแบบเส้นตรง โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นหมวดหมู่ และย่อยหมวดหมู่ตามลำดับชั้น
  2. Hierarchical Structure: เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ ที่มีการจัดแบ่งหน้าต่าง ๆ คล้ายกับแผนผังต้นไม้ (Tree Structure) 
  3. Web Linked Structure: เป็นโครงสร้างที่ไม่ได้จัดลำดับชั้นที่ชัดเจน โดยให้ผู้เขาเว็บไซต์สามารถค้นข้อมูลได้อย่างอิสระ
  4. Database Structure: เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่มีลักษณะคล้ายกับ Hierarchical Structure แต่จัดเรียงข้อมูลจากล่างขึ้นบน
  5. Hybrid Structure: เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่ผสมผสานระหว่าง Hierarchical Structure กับ Linear Structure

ทั้งนี้การวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันบนหน้า Google เพราะฉะนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO จำเป็นต้องมองภาพรวมของเว็บไซต์ให้ออก ว่าต้องวางโครงสร้างแบบไหน เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าเว็บไซต์มาได้รับประสบการณ์ดีที่สุด

  • การวางแผนสร้าง SEO Content

การวางแผนสร้างคอนเทนต์ (SEO Content) และปรับปรุงเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ โดยการกำหนดเนื้อหา และองค์ประกอบของคอนเทนต์ที่ถูกต้องตามหลัก SEO ได้แก่ 

  1. หาคีย์เวิร์ดที่ผู้คน หรือกลุ่มเป้าหมายเลือกใช้
  2. การกำหนด Meta Tag ให้สัมพันธ์กับคีย์เวิร์ดบนเว็บเพจ
  3. สร้างคอนเทนต์คุณภาพ ให้สอดคล้องกับธุรกิจ
  4. สร้าง Internal Link และ External Link

ทั้งนี้ ควรเช็กความเร็วของเว็บไซต์ (Page Speed) อยู่เสมอ เพื่อตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณโหลดได้เร็ว หรือช้าแค่ไหน เนื่องจาก สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่ออันดับ Google SERP

  • การสร้าง Backlink ที่มีคุณภาพ

การทำ Backlink ให้ลิงก์เข้ามายังเว็บไซต์หลักของคุณ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้ประสิทธิภาพของเว็บดีมากขึ้น และมีโอกาสขึ้น Google SERP สูงขึ้น โดยลิงก์ที่หามาจากเว็บไซต์ต้องน่าเชื่อถือ และมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน อีกทั้งยังช่วยให้ Search Engine มองว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน

  • การวิเคราะห์ผลลัพธ์

ขั้นตอนสุดท้าย คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การค้นหาคีย์เวิร์ด ไปจนถึงการทำ Backlink ผ่านเครื่องมือการตรวจสอบ อย่าง Google Search Console เพื่อวิเคราะห์หาแนวโน้ม และพฤติกรรมของผู้ใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ 

เช่น เว็บไซต์ของคุณอยู่อันดับที่เท่าไหร่ (SEO Ranking) หรือเว็บไซต์มียอดผู้ใช้งานเท่าไหร่ ทั้งนี้หากผลลัพธ์ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร วิธีแก้ไขคือต้องวางแผนปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ตั้งแต่แรก

SEO Specialist เกี่ยวข้องกับการทำ SEO อย่างไร ?

SEO Specialist เป็นสายงานใน Digital Marketing ที่ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันหลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับอาชีพนี้ เพราะธุรกิจต่าง ๆ เริ่มลงทุนกับช่องทาง Search Engine  เพื่อเพิ่มยอด Organic Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ โดยไม่ต้องการเสียเงินในการโฆษณา

โดยการทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับบน Search Engine จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น การกำหนดคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการของคุณ, การเขียนคอนเทนต์ลงบล็อก, การเชื่อมโยงลิงก์ภายในเว็บไซต์ และการทำ Backlink เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อการทำ SEO เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแบรนด์ หรือบริษัทใดที่กำลังมองช่องหาช่องทางการทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพ ก็อย่าลืมหาผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO เป็นตัวช่วยในการพัฒนาให้กับเว็บไซต์ของคุณติดอันดับบนหน้าแรกของ Google

บทความที่เกี่ยวข้อง 3 เรื่องต้องรู้ ถ้าอยากทำ SEO ให้ติดหน้าแรก Google

อย่างไรก็ตาม การเป็น SEO Specialist ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แต่ต้องมีทักษะบางอย่าง เพื่อให้เหมาะกับสายงานนี้ ได้แก่ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ SEO, ชอบติดตามข่าวสาร หรือเทรนด์ต่าง ๆ อยู่เสมอ, เรียนรู้ และฝึกการใช้งานเครื่องที่จำเป็นในการทำ SEO  และทักษะ การคิด การวิเคราะห์ หรือการสื่อสาร เป็นต้น

สุดท้ายนี้หวังทุกคนจะได้รู้จักเกี่ยวกับการทำ SEO และ SEO Specialist ว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เราแนะนำให้ลองศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการทำ SEO เนื่องจากต้องใช้เวลาในการศึกษาความรู้ ประสบการณ์ และการต่อยอดเป็นผลงานต่าง ๆ 

แต่หากคุณต้องการทำ SEO และประสบความสำเร็จได้แน่นอน คอมม่อน กราวด์ เอเจนซี ยินดีให้บริการ เพราะเราเชี่ยวชาญ และรับทำ SEO และการตลาดออนไลน์มาหลายรูปแบบ หากต้องการปรึกษา หรือสอบถามเพิ่ม สามารถติดต่อเราได้ที่

Tel.081-426-6695

Email: [email protected]

Facebook Page: Common Ground