Neuromarketing คืออะไร? ช่วยเพิ่มยอดขายได้จริงหรือไม่MarketingOnline MarketingNeuromarketing คืออะไร? ช่วยเพิ่มยอดขายได้จริงหรือไม่

Neuromarketing คืออะไร? ช่วยเพิ่มยอดขายได้จริงหรือไม่

Neuromarketing คือ

ในปัจจุบันนักการตลาดได้นำความรู้ทางประสาทวิทยา (Neuroscience) เข้ามาใช้ในการทำการตลาดออนไลน์อย่างแพร่หลาย จนเกิดเป็นศัพท์ที่เรียกว่า Neuromarketing

ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยโปรโมตแคมเปญสินค้า และบริการต่าง ๆ ให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยให้แบรนด์กลายเป็นที่จดจำในตลาด ภายในระยะเวลาอันสั้น

ในบทความนี้ คอมม่อน กราวด์ จะพาทุกท่านไปเรียนรู้กันว่าการทำการตลาดออนไลน์โดยการใช้กลยุทธ์ Neuromarketing คืออะไร ทำไมการทำโฆษณา หรือสร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า และปั้นแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง หากพร้อมแล้ว เรามาดูกัน

Neuromarketing คืออะไร ?

Neuromarketing คือ การทำความเข้าใจลูกค้าตั้งแต่จิตใต้สำนึก และอารมณ์ขั้นพื้นฐาน รวมถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ ด้วยการกระบวนการทางการตลาด ที่นำวิธีการของ Nueroscience หรือประสาทวิทยามาใช้ เพื่อหาคำตอบว่าแท้จริงแล้วสมองของเรา ตอบสนองต่อโฆษณาแต่ละแบบอย่างไร 

ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแรงจูงใจ ความชอบ รวมถึงปฏิกิริยาทางสมอง และระบบประสาท ที่มีผลต่อการรับรู้ของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางกลยุทธ์ทางการตลาด ออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า และดีไซน์โฆษณา รวมถึงสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้โดนใจผู้บริโภค

ทั้งนี้พื้นฐานการทำ Neuromarketing ควรเริ่มจากทำความเข้าใจในสมองของมนุษย์ โดยแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  • Neocortex: ทำงานเกี่ยวกับตรรกะ และเหตุผล ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้คิดวิเคราะห์ และทำงานต่อเมื่อต้องการใช้เท่านั้น เช่น การวางแผน การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถด้านภาษา
  • Limbic Brain (Milddle Brain): ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึก และอารมณ์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสารเคมีที่สมองส่วนนี้ปล่อยออกมาสู่ร่างกาย รวมถึงใช้ในการจดจำเหตุการณ์ต่าง ๆ
  • Reptilian Brain (Old Brain) ทำงานเกี่ยวกับสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยควบคุมการทำงานที่สำคัญของร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การทรงตัว และอุณหภูมิ ทั้งยังทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเอาตัวรอด หรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

ตัวอย่างเ ครื่องมือใน Neuromarketing

หลายคนอาจคิดว่ากลยุทธ์ Neuromarketing เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ผ่านข้อมูลบนแผ่นกระดาษเป็นหลักเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกลยุทธ์ดังกล่าว จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย

เพื่อให้นักการตลาดเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ผ่านการนึกคิด และความรู้สึกอย่างแท้จริง โดยเทคโนโลยีที่ช่วยในการวัดผล เพื่อส่งเสริมให้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Neuromarketing ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 5 เครื่องมือ ดังนี้

1. fMRI (Functional Magnetic Resonance Imaging)

fMRI เป็นเครื่องมือตรวจวัดการทำงานของสมอง ผ่านการจับความเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนของเลือดในสมอง และการทำงานของเซลล์ประสาท ทำให้เห็นภาพโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ 

โดยเทคนิคการใช้เครื่อง fMRI ตรวจจับการทำงานของสมอง สามารถช่วยให้นักการตลาดรู้ถึงสิ่งที่ผู้คนได้เห็น หรือได้ยินได้ฟังมา รวมถึงความคิดที่อยู่ในสมอง ส่งผลให้นักการตลาดออนไลน์ และเจ้าของแบรนด์ คิดค้นคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. EEG (Electroencephalography)

EEG เป็นเครื่องมือที่ใช้การติดขั้วไฟฟ้าที่ศีรษะของผู้ถูกทดลอง เพื่อตรวจสอบการทำงานของเซลล์สมอง เช่น อารมณ์ ความตื่นเต้น ความสนใจ รวมถึงความผิดปกติของการเรียนรู้ และหน่วยความจำ เป็นต้น โดยการใช้เครื่องมือ EEG จะช่วยให้เห็นปฏิกิริยาจริงของกลุ่มเป้าหมายในระดับจิตใต้สำนึก

3. Eye Tracking

Eye Tracking เป็นเครื่องมือที่วัดผลเชิงการมองเห็น โดยบันทึกพฤติกรรมการมอง เพื่อใช้วัดผลว่าคนส่วนใหญ่มองกันอย่างไร ซึ่งการใช้เครื่องมือ Eye Tracking จึงเหมาะกับการวัดผล เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ครีเอทีฟ และโดนใจลูกค้าอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการใช้ Eye Tracking คือ ไม่สามารถวัดอารมณ์ และความรู้สึกของผู้บริโภคได้เหมือนกับเครื่องมือประเภทอื่น

4. Biometrics

Biometrics เป็นเครื่องมือวัดการตอบสนองของสมอง จากการเต้นของหัวใจ และการตอบสนองของผิว ซึ่งเป็นการวัดค่าผิวว่ามีการตอบสนองอย่างไร เมื่อมีอารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ

ทั้งนี้ ข้อเสียของการใช้เครื่องมือ Biometrics คือ ตีความได้ยากกว่าวิธีอื่น ทั้งยังมีราคาแพงกว่าเครื่องมือประเภทอื่นในท้องตลาดอีกด้วย

5. Facial Coding

ในส่วนของ Facial Coding คือ เครื่องมือตรวจวัดจากการแสดงสีหน้า เพื่อวิเคราะห์อารมณ์ และการเปลี่ยนแปลงบนใบหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะ และชักสีหน้า เป็นต้น ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาถูก

ทั้งยังสามารถทดสอบได้ในกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เพราะใช้เทคโนโลยีที่เข้ากับชีวิตประจำวัน อย่าง กล้อง Webcam หรือกล้องมือถือ

เทคนิคการทำ Neuromarketing ให้ประสบความสำเร็จ

หลังจากที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Neuromarketing แบบเบื้องต้นกันไปแล้ว ลองมาดูเทคนิคการทำ Neuromarketing ให้ประสบความสำเร็จ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อเอาชนะใจกลุ่มลูกค้า และสร้างตัวตนในแวดวงธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างรวดเร็ว จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง เราไปดูกัน

  • Anchoring Effect

กลยุทธ์ที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กับสินค้า และบริการให้แก่แบรนด์ ผ่านการวางสินค้าให้เหมาะสมกับสถานที่ การออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจ รวมถึงการลดราคาสินค้าให้ดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากซื้อสินค้ามากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การตั้งราคาสินค้าลงท้ายด้วยเลข 9 หรือ 99 บาท การตั้งแพ็กเกจราคา และการสมัครบริการแบบรายปี รวมถึงการขายสินค้าแบบแพ็ก ให้มีราคาถูกกว่าซื้อแบบปลีก โดยหลักการเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคคล้อยตามได้ง่าย จนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุด

  • FOMO

FOMO (Fear of Missing Out) เป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์แบบใหม่ ที่ช่วยส่งเสริมการเพิ่มยอดขายผ่านตัวอักษร และองค์ประกอบอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายที่รับชมรู้สึกว่า ไม่ควรพลาดสินค้าที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่ในขณะนั้น โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • FOMO Urgency: คือ กลยุทธ์การยื่นข้อเสนอแก่ผู้ซื้อ ด้วยการโปรโมตสินค้า และบริการ ที่เพิ่มโอกาสในการชำระเงินทันที โดยพบได้ในแคมเปญแบบจำกัดเวลา เพื่อกระตุ้นผู้ซื้อให้รู้สึกอยากซื้อสินค้าในราคาที่ถูก เช่น เฉพาะวันนี้ วันสุดท้าย และสินค้ามีจำนวนจำกัด เป็นต้น
  • FOMO Social Proof: คือ การตลาดรีวิวในโลกโซเชียล เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่พบเจอ นำข้อมูลต่าง ๆ ไปประกอบการตัดสินใจว่าจะอุดหนุนสินค้าหรือไม่
  • FOMO Time Limit: เป็นการกำหนดเวลาในการสร้างยอดขาย เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าในราคาที่คุ้มค่ากว่าวันอื่น ๆ โดยวิธีการนี้พบได้ในแคมเปญที่จบภายใน 1 วัน เช่น โปรโมชันลดราคา 9.9 เป็นต้น
  • FOMO feeling of missed opportunity: เป็นกลยุทธ์เล่นกับความรู้สึกของผู้บริโภค เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกเสียโอกาส หากไม่กดซื้อสินค้า เช่น ซื้อสินค้าครบ 499 บาท ส่งฟรีทุกระยะทาง และซื้อครบตามจำนวน แถมผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ทดลองก่อนใคร เป็นต้น
  • สื่อสารให้ชัดเจน

การผลิตแคมเปญการตลาดที่โดนใจผู้บริโภค มักเป็นคอนเทนต์ที่ชัดเจนว่าพูดถึงอะไร และกำลังขายสินค้าประเภทไหนอยู่ เพื่อให้ลูกค้าอ่านแล้วจดจำแบรนด์ได้ในทันที

นอกจากนี้ ควรเขียนสโลแกนในแต่ละแคมเปญให้มีข้อความที่กระชับ และเข้าใจง่าย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากอ่านได้ง่ายกว่าเนื้อหาที่ยาวเหยียด

  • ดึงดูดใจด้วยบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น และผ่านความครีเอทีฟมาอย่างดี มักดึงดูดสายตาผู้บริโภคได้มากกว่า บรรจุภัณฑ์ที่มีไม่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ เมื่อนำสินค้าไปวางในร้านค้า หรือหน้าสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ก็โดดเด่น ชวนให้ลูกค้ากดสินค้าลงตะกร้าทุกเมื่อ  

  • ใช้มุกตลกเข้าช่วย

เทคนิคสำคัญที่นักการตลาดออนไลน์ และครีเอเตอร์มักนิยมทำ คือ การสอดแทรกมุกตลกลงไปในคอนเทนต์ เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมาย และผู้ใช้งานทั่วไปให้ความสนใจ จนกลายเป็นลูกค้าใหม่ ๆ ได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาก่อนว่ามุกตลกที่ต้องการนำมาใช้โปรโมตสินค้า เป็นมุกตลกอ่อนไหวหรือไม่

  • ใช้อินฟลูเอนเซอร์เข้าช่วย

การทำการตลาดด้วยการนำอินฟลูเอนเซอร์ หรือครีเอเตอร์ผู้มีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมาย ถือเป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก ลูกค้าต้องการสอดส่องรีวิวจากผู้ใช้งานจริง ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการ

ดังนั้น การใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่ในกระแส มาช่วยทำคอนเทนต์รีวิวสินค้าให้กับแบรนด์ของคุณ ก็ยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม การใช้กลยุทธ์แบบ Neuromarketing ให้มีประสิทธิภาพ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ และกลยุทธ์ให้ละเอียด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับแบรนด์

สำหรับผู้ที่ต้องการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และเหมาะกับการโปรโมตสินค้าในทุกแคมเปญ ก็สามารถติดต่อคอมม่อน กราวด์ เอเจนซี ที่ปรึกษาการตลาด ผู้เชี่ยวชาญด้านคอนเทนต์ และการตลาดออนไลน์ ที่จะช่วยสร้างแบรนด์ของคุณให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะเราคือบริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ทุกรูปแบบ หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่

Tel: 081-426-6695

Email : [email protected]

Facebook Page : Common Ground