แชร์ เทคนิคจับโทนคู่สีให้ปัง สำหรับการออกแบบเว็บไซต์Branding & Designแชร์ เทคนิคจับโทนคู่สีให้ปัง สำหรับการออกแบบเว็บไซต์

แชร์ เทคนิคจับโทนคู่สีให้ปัง สำหรับการออกแบบเว็บไซต์

คู่สี

สี ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการออกแบบ ซึ่งนอกจากเพิ่มความสวยงาม และความโดดเด่นแล้ว สีแต่ละสียังมีความหมาย ที่สามารถสื่อความรู้สึกให้กับผู้ชมได้ด้วยตัวมันเอง ทั้งยังสามารถสร้างภาพจำให้กับผู้บริโภค และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการ 

นอกจากนี้ การใช้สีที่เหมาะสมไม่เพียงแค่ทำให้งานออกแบบดูน่าสนใจ แต่ยังสามารถสร้างความแตกต่าง และเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ซึ่งสำหรับการออกแบบทั่วไป มักใช้สีมากกว่า 1 สี จึงเห็นบ่อยครั้งที่นักออกแบบหลายคน ทำผิดพลาดในการเลือกจับโทนสี

ดังนั้น เพื่อให้การออกแบบกลายเป็นเรื่องง่าย และเป็นแนวทางการออกแบบเว็บไซต์ ในบทความนี้ คอมม่อน กราวด์ ขอเผยเคล็ดลับจับโทนคู่ของสี พร้อมแนะนำเว็บไซต์จับคู่สียอดนิยม ถ้าพร้อมกันแล้ว ตามมาดูได้เลย

ทริคการจับโทนคู่สี สำหรับนักออกแบบเว็บไซต์มือใหม่ ที่ควรรู้

คู่สี

พื้นฐานของการใช้โทนสี คือ การเข้าใจทฤษฎีจับคู่ของสี (Color Theory) เพื่อควบคุมทิศทางของสีไปในทางเดียวกัน โดยเฉพาะนักออกแบบเว็บไซต์ หรือ UI Designer ที่ต้องออกแบบเว็บไซต์ทำให้ใช้งานได้ง่าย และดูสวยงาม ซึ่งทฤษฎีจับคู่สี มีดังนี้

1. สีโทนเดียว

สีโทนเดียว (Monochromatic Colors) คือ การจับคู่ของสีในโทนเดียวกัน ซึ่งจะไม่ใช่การใช้สีเดียวทั้งหมด เช่น การไล่เฉดสี (Shade) ความอ่อนแก่ของสี (Tint) และการแมตช์สี (Hue) 

ซึ่งการใช้สีโทนเดียวเพื่อให้สามารถสื่ออารมณ์ได้ชัดขึ้น และเพิ่มความเรียบง่ายสบายตาให้กับงาน มักพบเห็นได้ง่ายในสไตล์การออกแบบมินิมอล (Minimalist) 

2. เฉดสีข้างเคียง

เฉดสีข้างเคียง (Analogous Colors) คือ การจับคู่ 3 สีที่ใกล้เคียงกัน โดยการใช้สีให้กลมกลืน (Harmony) เพื่อให้ผลงานการออกแบบไม่ขัดแย้งกัน ซึ่งจะคล้ายกับ Monochromatic แต่มีความโดดเด่นกว่าจากการใช้คู่ของสีอื่น ๆ เพิ่มมิติให้กับผลงาน

3. สีคู่

สีคู่ หรือสีตรงข้าม (Complementary Colors) คือ การใช้สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงล้อสี (Color Wheel) โดยแบ่งออกหลัก ๆ เป็น 2 ขั้ว ได้แก่ สีโทนเย็น (Cool Tone) และสีโทนร้อน (Warm Tone) ทั้งนี้ การนำสีคู่ตรงข้ามมาใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ อาจแบ่งสัดส่วนของสีออกเป็น สีหลัก 80% ต่อสีรอง 20% เพื่อสร้างความโดดเด่นให้คู่สี โดยดูไม่รกจนเกินไป

4. ชุดสีสามเหลี่ยม

ชุดสีสามเหลี่ยม (Triadic Colors) คือ การใช้สี 3 สีตรงข้ามกันในระยะที่เท่า ๆ กันบนวงล้อสี ซึ่งเป็นการเลือกใช้สีแบบสมดุล โดยใช้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ทำให้การใช้เทคนิคนี้เหมาะกับงานออกแบบ ที่ไม่ต้องการให้สีใดสีหนึ่งโดดเด่นเกินไป อย่างไรก็ตาม พยายามลดการใช้สีสดทั้ง 3 สีพร้อมกัน เพราะอาจทำให้องค์ประกอบของเว็บไซต์ขัดกัน และดูไม่น่าเข้าใช้งาน

5. สามสีตรงข้ามใกล้เคียง

การใช้สามสีตรงข้ามใกล้เคียง (Split-Complementary Colors) มีความคล้ายคลึงกับ Triadic Colors แต่แตกต่างกันตรงที่ใช้จุดสีในรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ถือเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสีที่มากกว่า เมื่อเทียบกับใช้สีเพียง 2 สี จึงทำให้การออกแบบมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

6. สี่สีตรงข้าม

การใช้สี่สีตรงข้าม (Tetradic Colors) คือ การใช้สีถึง 4 สี โดย 2 สีเป็นสีใกล้เคียงกัน และอีก 2 สีตรงข้ามกัน หรือการใช้ชุดสีในจุดมุมรูปสี่เหลี่ยมเทียบบนวงล้อสี ซึ่งการใช้เทคนิคนี้หากใช้อัตราส่วนที่เหมาะสม จะเพิ่มความน่าหลงใหลให้กับการออกแบบได้เป็นอย่างดี 

7. จิตวิทยาของสี

จิตวิทยาของสี (Psychology of Color) คือ การนำความหมายของสีมาเป็นตัวชักนำความรู้สึก เนื่องจาก สีแต่ละสีก็มีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น

  • สีแดง: ตัวแทนของความรุนแรง หรือการดึงดูด
  • สีดำ: แสดงถึงความลึกลับ และความน่าค้นหา
  • สีขาว: แสดงถึงความสงบ และความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง: ตัวแทนความสดใส ความร่าเริง
  • สีเขียว: แสดงถึงความผ่อนคลาย 
  • สีชมพู: แสดงถึงความอ่อนโยน
  • สีน้ำเงิน: ตัวแทนของความสุภาพ เรียบร้อย และความน่าเชื่อถือ

แนะนำเว็บไซต์จับคู่สี ใช้งานง่าย ออกแบบเว็บไซต์ให้สวยได้ทันที

หากการจับโทนสียังดูเป็นเรื่องยาก ในวันนี้ คอมม่อน กราวด์ จะมาแนะนำเครื่องมือที่ช่วยเลือกจับคู่ของสีผ่านเว็บไซต์ มีฟังก์ชันใช้งานง่าย และสามารถใช้ได้ฟรี จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

  • Color Hunt

สำหรับเว็บไซต์แรก อย่าง Color Hunt เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวม Palette Color ไว้อย่างมากมาย โดยสร้างจากนักออกแบบจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งแบ่งหมวดหมู่ให้เลือกอย่างมากมาย เช่น โทนสีตามอีเวนต์ โทนสีตามสภาพอากาศ โทนสีตามภูมิภาค และโทนสีตามฤดูกาล เป็นต้น 

Color Hunt จึงเป็นเว็บไซต์ช่วยเลือกสีที่เหมาะกับมือใหม่ หรือผู้ที่ไม่ค่อยเข้าใจทฤษฎีสีเป็นอย่างมาก อีกทั้งเราสามารถก๊อบปี้โค้ดสีได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาใช้เครื่องมือดูดสี

  • Adobe Color

Adobe Color เป็นเว็บไซต์จากบริษัท Adobe ที่มีชื่อเสียงพัฒนาโปรแกรมอย่าง Creative Cloud ที่รวบรวมแอปพลิเคชันการทำงานสายออกแบบ และสร้างสรรค์ไว้มากมาย เช่น Photoshop, Illustrator, และ Lightroom เป็นต้น

ทั้งนี้ จุดเด่นของ Adobe Color นอกจากมีเฉดสีให้เลือกครบทุกสี ยังสามารถเลือกสี ตามหลักการทฤษฎีของสีได้ครบทุกรูปแบบ เพียงแค่เลือกสีที่ต้องการ ก็จะได้โทนสีที่ต้องการทันที รวมไปถึงมีการแนะนำโทนสี จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่อัปเดตเทรนด์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น แฟชั่น กราฟิก  UX/UI และสถาปัตยกรรม ที่ทำให้นักออกแบบเว็บไซต์พบไอเดียใหม่ ๆ อยู่เสมอ

  •  Canva Palette Generator

Canva เป็นเว็บไซต์ออกแบบที่มีเทมเพลต (Template) ในการสร้างสื่อต่าง ๆ เช่น การสร้างโลโก้ เรซูเม่ ใบปลิว หรือโปสเตอร์ต่าง ๆ ซึ่ง Canva ยังมีอีกฟีเจอร์หนึ่ง ที่เรียกว่า Canva Palette Generator เป็นเครื่องมือสร้าง Palette Color โดยการอัปโหลดรูปภาพที่ชอบ และระบบของ Canva ก็จะแสดงผลคู่สีที่ปรากฏในภาพนั้น 

ทั้งนี้ การใช้ Canva Palette Generator เป็นการนำเสนอ Palette Ideas ไม่ได้มีฟังก์ชันเลือกหมวดหมู่เหมือนเว็บไซต์อื่น เหมาะกับผู้ที่ต้องการหาสีพื้นฐานจากรูปที่ชอบ

  • Colormind

Colormind เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์จับคู่ของสีที่สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงกดปุ่ม Generate คุณก็จะได้โทนสีที่ต้องการทันที พร้อมกับแสดงตัวอย่างผลลัพธ์ผ่านหน้าเว็บไซต์ อีกทั้งยังมีฟีเจอร์คล้ายกับ Canva Palette Generator ที่สามารถอัปโหลดรูปภาพเข้าเว็บไซต์ เพื่อถอดคู่สีที่ปรากฏภายในภาพได้

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับทริคการจับคู่ของสีเบื้องต้น ที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักออกแบบ พร้อมกับการแนะเว็บไซต์จับโทนสี ที่ใครกำลังฝึกออกแบบเว็บไซต์อยู่ ก็อย่าลืมนำเว็บไซต์ที่นำเสนอเหล่านี้ไปลองปรับใช้ดูกันได้

นอกจากนี้ สำหรับผู้ประกอบการ หรือใครที่กำลังจะสร้างเว็บไซต์ แต่ยังไม่มั่นใจในฝีมือก็สามารถติดต่อ คอมม่อน กราวด์ เอเจนซี เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำเว็บไซต์ และรับออกแบบเว็บไซต์ รวมถึงการทำการตลาดออนไลน์ในทุกรูปแบบ ด้วยประสบการณ์กว่า 7 ปี หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่

Tel. 081-426-6695

Email: Enjoy@iamcommonground.com

Facebook Page: Common Ground