ทำการตลาดออนไลน์ ให้น่าสนใจ ด้วยเทคนิค Social Listening
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
จากสถิติในต้นปี 2024 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าผู้คนทั่วโลกใช้งานโซเชียลมีเดีย (Social Media) ไปกว่า 5.04 พันล้านคน ทำให้เจ้าของธุรกิจหลายแบรนด์เริ่มหันมาทำการตลาดออนไลน์ ผ่านโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น
ทั้งนี้ เจ้าของแบรนด์ที่ต้องวางแผนกลยุทธ์การตลาด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และพัฒนาคอนเทนต์ของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักเสียก่อน ซึ่งหนึ่งในเทคนิคที่นิยมนำมาปรับใช้ ก็คือการทำการตลาด Social Listening จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์เข้าใจความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
ดังนั้น ในบทความนี้ คอมม่อน กราวด์ ขอแชร์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ ด้วยเทคนิค Social Listening คืออะไร มีประโยชน์ต่อเจ้าของแบรนด์อย่างไรบ้าง และวิธีการใช้งาน Social Listening ให้ได้ผลสำเร็จสูงสุด ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปอ่านกันได้เลย
ไขข้อสงสัย Social Listening การตลาดออนไลน์ คืออะไร ?
Social Listening คือ การฟังเสียงของผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์ จากข้อความที่กล่าวถึงธุรกิจบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น การคอนเมนต์ (Comment) การเมนชั่น (Mention) หรือการติดแฮชแท็ก (Hastag)
โดยข้อมูลที่ได้ จะถูกนำมาวิเคราะห์ต่อยอดในเชิงลึก (Insight) เพื่อให้แบรนด์ได้สร้างโอกาสทางการตลาด ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมถึงสามารถนำไปวางแผนทางการตลาดออนไลน์ได้ในอนาคต
ทั้งนี้ Social Listening อาจดูคล้ายคลึงกับ Social Monitoring แต่หลักการทำงานของทั้ง 2 กลยุทธ์นั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยหลักการทำงานของ Social Listening มุ่งเน้นการจับความรู้สึกของบริโภค ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรบ้างบนโซเชียลมีเดีย และรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และวางแผนในครั้งถัดไป
ในส่วน Social Monitoring คือการเฝ้าระวัง หรือตรวจสอบข้อความที่กล่าวถึงสินค้า หรือบริการ ที่อาจกระทบต่อธุรกิจในเชิงลบ ดังนั้น การ Monitoring เสมือนเป็นการจัดการชื่อเสียงของแบรนด์ หรือการเตรียมรับปัญหาที่ไม่คาดฝัน
ทำความเข้าใจ Social Listening กับประโยชน์ที่มีต่อธุรกิจ
การนำเทคนิค Social Listening มาใช้ร่วมกับการวางกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ จะช่วยให้แบรนด์นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือคอนเทนต์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น โดยประโยชน์ที่ได้รับจาก Social Listening มีดังนี้
1. สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ (Brand Awareness)
การแสดงความคิดเห็นของผู้บริโภค ที่กล่าวถึงแบรนด์ สินค้า หรือบริการ ทั้งทางตรงและทางอ้อมบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook TikTok Instagram และ Twitter (X)
ล้วนเป็นข้อมูลเชิงลึกที่เจ้าของธุรกิจควรนำข้อมูลในส่วนนี้ มาสร้าง Brand Awareness เพื่อให้คนภายนอกมองเห็นวิสัยทัศน์ หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดูเข้าถึงง่าย
2. ส่งต่อภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์
Social Listening ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น การให้คำแนะนำกับผู้บริโภค หรือการรับคำติชมจากกลุ่มลูกค้า
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์ตอบสนอง และสร้างความพึงพอใจตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด จึงถือเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจในอีกแง่มุมหนึ่ง
3. เปิดโอกาสให้ศึกษาคู่แข่งของแบรนด์
การทำการตลาดออนไลน์ที่ดี คือการสำรวจแบรนด์คู่แข่งอยู่สม่ำเสมอ เพื่อเตรียมรับการเคลื่อนไหวบางอย่าง ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเราเอง อีกทั้งการได้ทราบถึงข้อมูล จุดอ่อน และจุดแข็ง จะเพิ่มโอกาสในความสำเร็จในธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การเลือกใช้เครื่องมือ Social Listening เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้เจ้าของแบรนด์ปรับปรุงธุรกิจของตัวเองให้เท่าทันกระแสโลกมากยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น แนวโน้มที่กลุ่มผู้บริโภคกำลังพูดถึงแบรนด์คู่แข่งแบบเรียลไทม์ การเคลื่อนไหว หรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่กำลังซุ่มพัฒนา สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้เจ้าของแบรนด์ปรับปรุงธุรกิจของตัวเองให้เท่าทันกระแสโลกมากขึ้น
การทำ Social Listening ให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
หลักการทำ Social Listening ตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยผลักดันให้แบรนด์ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ทำให้เห็นผลของการวางกลยุทธ์ด้านการตลาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
อีกทั้งยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจเห็นภาพรวมแบรนด์ตัวเองว่า กำลังอยู่จุดไหนท่ามกลางแบรนด์คู่แข่ง โดยขั้นตอนก่อนการเริ่มต้นทำ Social Listening ให้ได้ผล มีดังนี้
1. กำหนด KPIs
การกำหนด KPIs (Key Performance Indicators) เพื่อตั้งเป้าหมายให้แก่ธุรกิจ โดยต้องเป็นการวัดผลที่เฉพาะเจาะจง และทำให้เห็นผลได้จริง ซึ่งการตั้งค่า KPIs จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ของธุรกิจ เช่นจุดอ่อน จุดแข็ง และอุปสรรค เป็นต้น
2. วิเคราะห์คู่แข่ง
ใช้เครื่องมือการทำ Social Listening เพื่อสำรวจคู่แข่ง โดยการเปลี่ยนคีย์เวิร์ดจากแบรนด์ของคุณ เป็นชื่อแบรนด์ของคู่แข่ง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ทราบถึงข้อเสนอแนะ
วิเคราะห์ผู้บริโภคว่ามีการพูดถึงแบรนด์คู่แข่งอย่างไรบ้าง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สำหรับการขยายฐานลูกค้า และสร้างมูลค่าทางการตลาด ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยพัฒนาแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
3. วางแผนกลยุทธ์สร้างคอนเทนต์
การวางแผนกลยุทธ์สำหรับการตลาด ไม่ว่าจะเป็น การสร้างแคมเปญ หรือสร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้กับแบรนด์เป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
โดยใช้เครื่องมือในการทำ Social Listening เพื่อดูว่ากระแสที่เกิดขึ้นเป็นที่สนใจของผู้คนส่วนใหญ่หรือไม่ ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ มาออกแบบคอนเทนต์ ให้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภค
4. เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ในปัจจุบัน เครื่องมือสำหรับการทำ Social Listening มีให้เลือกอย่างมากมาย โดยแต่ละเครื่องมือมีฟีเจอร์การใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นเจ้าของธุรกิจควรเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับแบรนด์ของสุด เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจมากที่สุด
5. วิเคราะห์และวัดผลตาม KPIs
หลังจากโพสต์คอนเทนต์ออกสู่สาธารณะ ขั้นตอนต่อไปคือการวัดผลลัพธ์ ว่าทั้งที่ทำนั้นเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ โดยใช้กลยุทธ์ Social Listening ในการติดตามผลตอบรับของผู้บริโภค ทั้งในเชิงบวก และลบ เพื่อเป็นแนวสำหรับการแก้ไขในครั้งถัดไป
อย่างไรก็ตาม การทำการตลาดด้วยเทคนิค Social Listening ยังคงต้องอาศัยทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่ง Common Ground Agency ที่ปรึกษาการตลาด เรามีทีมงานมากฝีมือในการช่วยผลักดันธุรกิจ และปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับเจ้าของแบรนด์ เพื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับใครที่สนใจใช้บริการสามารถปรึกษา และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางต่อไปนี้
Tel: 081-426-6695
Email: [email protected]
Facebook Page: Common Ground