Keyword คืออะไร ? และสําคัญอย่างไรกับ SEO อัปเดตปี 2025SEOKeyword คืออะไร ? และสําคัญอย่างไรกับ SEO อัปเดตปี 2025

Keyword คืออะไร ? และสําคัญอย่างไรกับ SEO อัปเดตปี 2025

seo

ทุกวันนี้การทำ SEO ให้ติดหน้าแรกของ Google นั้นไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อน เนื่องด้วย การแข่งขันที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทำให้นักการตลาด และเจ้าของธุรกิจ ต้องรู้จักการเลือกใช้คีย์เวิร์ด (Keyword) ให้เหมาะสม เพราะคีย์เวิร์ดเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญ ที่ทำให้เว็บไซต์ของเราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และตรงกับความต้องการในการค้นหาของผู้ใช้งานจริง ๆ 

ในบทความนี้ Common Ground จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า Keyword คืออะไร และทำไมถึงมีบทบาทสำคัญต่อการทำ SEO โดยจะอัปเดตข้อมูลใหม่ล่าสุด เพื่อให้เข้ากับปี 2025 นี้ ซึ่งจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกัน

Keyword คืออะไร ? ทำไมถึงช่วยเพิ่มอันดับเว็บไซต์

Keyword คือ คำหรือวลี ที่ผู้ใช้งานพิมพ์ลงในเครื่องมือค้นหา (Search Engine) เพื่อค้นหาข้อมูล เช่น หากผู้ใช้งานต้องการทราบ “วิธีเลือกคีย์เวิร์ด SEO” พวกเขาอาจใช้คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น อาทิ

  • “การเลือกคีย์เวิร์ด SEO”
  • “วิธีหา Keyword ที่เหมาะกับ SEO”
  • “เทคนิคเลือกคำค้นหาสำหรับ SEO”
  • “เลือกคีย์เวิร์ด SEO อย่างไรให้ติดอันดับ”

โดยเว็บไซต์ที่มีการใช้คีย์เวิร์ด ที่ตรงกับคำค้นหาเหล่านี้ ก็จะมีโอกาสแสดงในผลการค้นหาเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ในปี 2025 การจัดอันดับของ Google ได้เน้นไปที่คุณภาพของคีย์เวิร์ด ความสอดคล้องกับเนื้อหา และการใช้อย่างเป็นธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้คีย์เวิร์ดจึงไม่ใช่แค่การใช้คำค้นหายอดนิยม แต่ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้ค้นหาด้วยเช่นกัน

Keyword สำหรับทำ SEO มีกี่ประเภท ? 

seo

มาทำความเข้าใจกันให้ลึกซึ้ง การทำ SEO ให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่การเลือกใช้คีย์เวิร์ด ที่มีปริมาณการค้นหาสูงเท่านั้น แต่ยังต้องเลือกคีย์เวิร์ดที่ตรงกับเจตนาของผู้ใช้ และต้องเหมาะสมกับเนื้อหาเว็บไซต์อีกด้วย ซึ่งคีย์เวิร์ดสำหรับทำ SEO สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท โดยแต่ละประเภทมีจุดเด่น และประโยชน์ที่ต่างกัน ดังนี้

1. Generic Keyword

    Generic Keyword หรือคีย์เวิร์ดทั่วไป เป็นคำค้นหาที่มีความหมายกว้าง และไม่เจาะจงในรายละเอียดมากนัก โดยมักจะใช้เป็นคำ หรือวลีสั้น ๆ ที่มีปริมาณการค้นหาสูง

    • “เสื้อผ้า”
    • “รองเท้า”
    • “อุปกรณ์กีฬา”
    • “เครื่องสำอาง”

    ซึ่งคำเหล่านี้ มักเป็นที่นิยมใช้ค้นหาในหมวดหมู่ต่าง ๆ และมีการแข่งขันสูง การติดอันดับในหน้าแรกจึงค่อนข้างยาก เนื่องจาก ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และความแข็งแรงของเว็บไซต์ 

    ดังนั้น การเลือกใช้ Generic Keyword จึงมักเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระยะยาว โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น Mass Keyword, Seed Keyword และ Short Keyword เป็นต้น

    2. Niche Keyword

      Niche Keyword เป็นคีย์เวิร์ดที่มีความเจาะจง และเฉพาะทางมากขึ้น เช่น 

      • “ร้านอาหารญี่ปุ่น ศรีราชา”
      • “รองเท้าแตะ Crocs รุ่นใหม่”
      • “เครื่องชงกาแฟแบบดริป”
      • “ครีมบำรุงผิวหน้าแบบออร์แกนิก”
      • “ที่พักแบบโฮมสเตย์ เชียงใหม่”

      ซึ่งคีย์เวิร์ดเหล่านี้ มักมีปริมาณการค้นหาน้อยกว่า Generic Keyword และมีการแข่งขันที่ต่ำกว่า เนื่องจาก ผู้ค้นหามีความตั้งใจชัดเจนในการหาข้อมูล หรือสินค้าที่ตรงกับความต้องการเฉพาะ จึงทำให้มีโอกาสในการดึงดูดผู้เข้าชมที่มีคุณภาพได้มากกว่า

      3. Long-Tail Keyword

        Long-Tail Keyword เป็นคีย์เวิร์ดยาว ที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง โดยมักใช้คำค้นหาที่ยาว และมีรายละเอียดเชิงลึก เช่น

        • “เสื้อผ้าผู้ชายแบรนด์เกาหลี สไตล์มินิมอล”
        • “ร้านอาหารจีนอร่อย ๆ ในกรุงเทพฯ”
        • “เสื้อผ้ามือสองยกกระสอบ ญี่ปุ่น ราคาถูก”

        ซึ่งคีย์เวิร์ดประเภทนี้ มักมีปริมาณการค้นหาน้อย และคู่แข่งไม่มาก ทำให้การติดอันดับ SEO ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าคีย์เวิร์ดประเภทอื่น อีกทั้ง Long-Tail Keyword ยังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ให้เป็นลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

        4. Branded Keyword

          Branded Keyword เป็นคีย์เวิร์ดที่รวมชื่อแบรนด์เข้าไปด้วย เช่น 

          • “หูฟัง Apple” 
          • “กระเป๋า Merge”
          • “ชานม KOI”

          ซึ่งผู้ค้นหาที่ใช้ Branded Keyword จะมีความคุ้นเคย หรือรู้จักแบรนด์นั้นอยู่แล้ว ทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าจะเข้ามาทำการซื้อสินค้า หรือใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

          5. คีย์เวิร์ดตามจุดประสงค์การค้นหา

            นอกจากประเภทที่กล่าวมาแล้ว คีย์เวิร์ดยังสามารถแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของการค้นหาเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

            • Transactional Keyword: คีย์เวิร์ดที่มีเป้าหมายเพื่อการซื้อขาย เช่น “ซื้อ iMac” หรือ “นาฬิกา Rolex ของแท้” ซึ่งผู้ใช้งานที่ค้นหาคำเหล่านี้ มักพร้อมที่จะทำการซื้อ
            • Informational Keyword: คีย์เวิร์ดเพื่อหาข้อมูล หรือเรียนรู้ เช่น “Branding คืออะไร” หรือ “วิธีทำการตลาดออนไลน์” ซึ่งจะเหมาะกับเนื้อหาที่ให้ข้อมูล และความรู้
            • Commercial Keyword: คีย์เวิร์ดที่ใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ เช่น “ซ่อมพัดลม ราคาไม่เกิน 1,000 บาท” หรือ “รีวิวเครื่องดูดฝุ่น Xiaomi” ซึ่งมักเป็นคำที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบราคา และข้อมูลสินค้า
            • Navigational Keyword: คีย์เวิร์ดที่มีการระบุแบรนด์ หรือบริการเฉพาะ เช่น “รถทัวร์ไปลพบุรี นครชัยแอร์” หรือ “จองตั๋วแอร์เอเชีย” ซึ่งมักจะใช้เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบรนด์ หรือบริการนั้น ๆ

            6. LSI Keywords (Latent Semantic Indexing Keywords)

              LSI Keywords หรือคีย์เวิร์ดแบบเชื่อมโยงเชิงความหมาย เป็นคำที่มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดหลัก ที่เราต้องการทำ SEO ซึ่ง Google และ Search Engine อื่น ๆ จะใช้ LSI เพื่อทำความเข้าใจบริบทของเนื้อหาบนเว็บไซต์ เช่น 

              • หากคีย์เวิร์ดหลัก คือ “กาแฟ” LSI Keywords ที่เชื่อมโยงกัน อาจเป็น “กาแฟสด” “เครื่องบดกาแฟ” หรือ “วิธีชงกาแฟ” เป็นต้น

              หรือ 

              • หากคีย์เวิร์ดหลัก คือ “การออกกำลังกาย” LSI Keywords อาจจะเป็นคำที่เกี่ยวข้องเช่น “ฟิตเนส” “การลดน้ำหนัก” หรือ “การออกกำลังกายที่บ้าน” เป็นต้น

              อย่างไรก็ตาม การใช้ LSI Keywords จะช่วยให้เนื้อหามีความหลากหลายของคำที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งยังช่วยเพิ่มความเป็นธรรมชาติในการใช้คีย์เวิร์ด และช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์มีโอกาสติดอันดับสูงขึ้นในคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกัน

              7. Geo-targeted Keywords

                Geo-targeted Keywords เป็นคีย์เวิร์ดที่เจาะจงพื้นที่ เช่น “ร้านอาหารอิตาเลียน กรุงเทพฯ” หรือ “บริษัทรับสร้างบ้าน เชียงใหม่” ซึ่งคีย์เวิร์ดประเภทนี้จะเน้นการระบุสถานที่ เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานที่กำลังมองหาบริการ หรือสินค้าในพื้นที่ใกล้เคียง 

                โดยการใช้ Geo-targeted Keywords จะมีประโยชน์มากใน SEO สำหรับธุรกิจท้องถิ่น (Local SEO) เพราะช่วยดึงดูดลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ที่ธุรกิจของคุณตั้งอยู่ ทั้งยังมีโอกาสทำให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลบน Google Maps หรือผลการค้นหาในลักษณะท้องถิ่นด้วย

                ทั้งนี้ สำหรับใครที่กำลังมองหาเอเจนซี ที่รับทำ SEO และช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้อย่างยั่งยืน ทีมผู้เชี่ยวชาญที่ Common Ground ก็พร้อมให้คำปรึกษา และวางกลยุทธ์ที่ตรงจุด เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจคุณ ติดต่อเราวันนี้ เพื่อเริ่มสร้างความสำเร็จในโลกออนไลน์ไปด้วยกัน !

                แนะนำ 5 เครื่องมือ ช่วยค้นหาและวิเคราะห์ Keyword สำหรับการทำ SEO

                seo

                การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ Keyword จะช่วยให้การเลือกคำค้นหามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Common Ground จะมาแนะนำ 5 เครื่องมือ ที่ช่วยในการค้นหา และวิเคราะห์คีย์เวิร์ด พร้อมเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละเครื่องมือ เพื่อช่วยให้คุณเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของเว็บไซต์

                1. Google Keyword Planner

                  เครื่องมือฟรี จาก Google ที่ช่วยค้นหาปริมาณการค้นหาของ Keyword ต่าง ๆ รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขัน และคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง เหมาะสำหรับการเริ่มต้นค้นหาคีย์เวิร์ดสำหรับการทำ SEO

                  ข้อดี: ฟรี ใช้งานง่าย และสามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Keyword

                  ข้อเสีย: ต้องมีบัญชี Google Ads และไม่มีข้อมูลที่เจาะลึกเกี่ยวกับคู่แข่ง

                  2. SEMrush

                    เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ Keyword และตรวจสอบคู่แข่ง พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการค้นหาคำต่าง ๆ และการแสดงอันดับ ครบจบในตัวเดียว

                    ข้อดี: สามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคู่แข่ง มีฟีเจอร์ครบครัน และมีการแสดงผลการค้นหาที่ละเอียด

                    ข้อเสีย: มีค่าใช้จ่าย และอาจจะยุ่งยากสำหรับมือใหม่

                    3. Ahrefs

                      เครื่องมือที่เน้นการวิเคราะห์ Backlinks และการค้นหา Keyword ซึ่งจะช่วยให้เห็นถึงโอกาสในการแข่งขัน และการทำ SEO บนคำต่าง ๆ

                      ข้อดี: มีความแม่นยำ และฟีเจอร์มีความครอบคลุมสูง

                      ข้อเสีย: ราคาแพง และฟังก์ชันบางอย่างอาจต้องใช้เวลาศึกษา

                      4. Moz Keyword Explorer

                        เครื่องมือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความยากในการแข่งขัน (Keyword Difficulty), โอกาสในการคลิก (CTR), ปริมาณการค้นหา (Search Volume) และอื่น ๆ

                        ข้อดี: ใช้งานง่าย และสะดวก

                        ข้อเสีย: มีฟีเจอร์จำกัดเมื่อใช้งานฟรี 

                        5. Ubersuggest

                          เครื่องมือที่พัฒนาโดย Neil Patel ที่ช่วยให้คุณค้นหา Keyword และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการค้นหา และการแข่งขัน

                          ข้อดี: รองรับภาษาไทย ใช้งานฟรี และให้ข้อมูลเชิงลึกในระดับที่ดี

                          ข้อเสีย: ฟีเจอร์ฟรีมีจำกัด ต้องเสียเงินเพิ่มถ้าอยากเพิ่มการเข้าถึง และข้อมูลบางอย่างอาจไม่ละเอียดเท่าที่ควร

                          สุดท้ายนี้ สำหรับใครที่กำลังมองหาเอเจนซีที่รับทำ SEO และช่วยวางกลยุทธ์เพื่อเลือก Keyword ที่เหมาะสม รวมถึงเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google อย่าลังเลที่จะปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญ จาก Common Ground เราพร้อมช่วยคุณทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวิเคราะห์คีย์เวิร์ด ไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ให้เหนือคู่แข่ง 

                          หากสนใจติดต่อหาเราได้ที่

                          Tel: 081-426-6695

                          Email: Enjoy@iamcommonground.com

                          Facebook Page: Common Ground